วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พิมพ์งานขั้นเบสิค ตอนที่ 2

ภาพจาก http://www.clickykeyboard.com/_ebay/ibm_55323685l-001/ibm_553236475l-003.jpg

  ตอนที่แล้วว่าไปถึงเรื่องเบสิคขนานแท้ของการพิมพ์งาน ซึ่งเป็นหลักเบื้องต้นจากการพิมพ์สัมผัสของการใช้พิมพ์ดีดนั่นเอง
   ตอนนี้เราก็จะมาต่อถึงคีย์ที่ไม่มีในพิมพ์ดีดกันบ้าง โดยจะกล่าวถึงคีย์ที่ใช้ในการพิมพ์ทั่วไปก่อนนะครับ
   คีย์ Shift มีความหมายเหมือนกับปุ่มยกแคร่ของพิมพ์ดีด เนื่องจากพิมพ์ดีดมีการออกแบบที่มีตัวพิมพ์สองชุดโดยใช้แคร่พิมพ์ชุดเดียวกัน เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนตัวอักษรที่มีใช้งาน สำหรับปุ่มยกแคร่ในภาษาไทยก็จะเป็นการเปลี่ยนไปใช้ชุดอักษรตัวบนของคีย์ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็ใช้สำหรับการพิมพ์ตัวอักษรใหญ่ในกรณีที่ขึ้นประโยคใหม่หรือคำศัพท์ที่ใช้เป็นคำนามนั่นเอง
   คีย์ Caps Lock คือการล็อคคีย์ยกแคร่ค้างไว้เพื่อพิมพ์อักษรแถวบนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะยกเลิกการล็อก ในพิมพ์ดีดก็จะมีระบบเฟืองล็อกแคร่ได้เหมือนกัน แต่ในคอมพ์ล็อกด้วยระบบดิจิตอลจึงดูมีลักษณะไม่เหมือนกัน
   แล้วก็คีย์ที่สำคัญอีกคีย์หนึ่งก็คือคีย์สำหรับเปลี่ยนภาษา ตามธรรมดาคนที่ใช้คอมพ์ส่วนมากจะคุ้นเคยกับการใช้คีย์ ตัวหนอน (Tilde) สำหรับการสลับภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ (หรือภาษาอื่นๆ ที่ตั้งไว้) ทั้งนี้ก็เนื่องจากในวินโดวส์รุ่นก่อนๆ ของไมโครซอฟต์ (น่าจะเป็นรุ่น 95) ได้กำหนดให้คีย์นี้เป็นคีย์สำหรับเปลี่ยนภาษาของแป้นคีย์บอร์ด แต่ภายหลังได้มีการกำหนดมาตรฐานในการใช้คีย์บอร์ดขึ้นให้มีรูปแบบเป็นมาตรฐานเดียวกัน ได้ตกลงกันว่าใช้ปุ่ม Alt+Shift เป็นปุ่มสำหรับเปลี่ยนภาษา (หมายถึงกด Alt กับ Shift พร้อมกัน หรือกด Alt ค้างไว้แล้วกด Shift ก็ใช้ได้ หรือกด shift ค้างไว้แล้วกด Alt ก็ใช้ได้เหมือนกัน ยิ่งพูดยิ่งงงอะดิ 555) อันนี้เป็นมาตรฐานสากลที่เขากำหนดไว้สำหรับใช้กับระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ทุกระบบปฏิบัติการนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องที่ใช้ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือเครื่องแม็ค หรือเครื่องที่ใช้ลีนุกซ์ก็ใช้มาตรฐานเดียวกัน แต่ไม่ว่าระบบปฏิบัติการไหนก็สามารปรับแต่งให้ใช้คีย์อื่นๆ มาเป็นคีย์สำหรับสลับภาษาคีย์บอร์ดได้ทั้งนั้นแหละ ดังนั้น จึงปรากฎว่าส่วนมากก็ยังตั้งให้ใช้ปุ่มตัวหนอนเป็นปุ่มสำหรับสลับภาษากันอยู่เหมือนเดิม แต่ถ้าวันไหนเกิดคุณไปใช้เครื่องของคนอื่นแล้วกดปุ่มตัวหนอนสลับภาษาไม่ได้ก็ลองใช้ Alt+Shift ดูนะครับ แล้วก็อย่าไปเถียงเขาละว่าเขาตั้งค่าอะไรไว้ผิดหรือเปล่า เพราะค่ามาตรฐานสากลเขากำหนดกันมาไว้อย่างนี้แล้ว บางคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องไปตั้งมาตรฐานให้เป็นตัวอื่น ไม่ใช้ตัวเดิมไปเลยล่ะ หาคำตอบมาได้ว่า เนื่องจากตัวอักษรตัวหนอนนั้นเขาใช้ในการเขียนโปรแกรมกันอยู่น่ะสิครับ มันไม่ใช่ตัวอักษรที่โผล่มาสำหรับเป็นปุ่มเปลี่ยนคีย์มาตั้งแต่แรกแล้ว ในวินโดวส์ของไมโครซอฟต์อาจจะไม่ค่อยมีการใช้เท่าไหร่ แต่ในระบบอื่นเขาก็จำเป็นต้องใช้กันทั้งนั้น ดังนั้นจึงต้องกำหนดปุ่มอื่นเป็นมาตรฐ่านสากลแทนอย่างทีเห็น
   เอ้าเลี่ยวเข้าป่าเข้าดงไปนานแล้ว กลับมาว่าถึงเเรื่องคีย์กันต่อนะครับ
   ปุ่มต่อไปนี้เป็นปุ่มสำคัญที่ใช้กันเป็นทุกคนก็คือปุ่ม Enter อันนี้แม้แต่เซียนเมาส์ถ้าหัดใช้ปุ่มนี้ให้คล่อง คุณจะลืมเมาส์ไปเลยก็ได้ ปุ่ม Enter นี้เรียกกันในแวดวง PC คือเครื่องที่ใช้ไมโครซอฟต์วินโดวส์นะครับ ถ้าเป็นยูนิกซ์อย่างเครื่องแม็คหรือลีนุกซ์เขาเรียกปุ่มนี้ว่าปุ่ม "Return" เพราะฉะนั้นถ้าเกิดมีใครบอกว่าให้กดปุ่ม Return ก็จำให้มั่นไว้เลยว่าก็ปุ่มอันเดียวกันกับปุ่ม Enter นั่นแล สมัยก่อนเค้าเอาไว้สั่งงานกันครับ เพราะใช้คอมแบบที่เป็นระบบพิมพ์คำสั่งกัน (สมัยนี้ก็ยังใช้อยู่ โดยเฉพาะในวงการยูนิกซ์) พอพิมพ์คำสั่งเสร็จก็กด Enter เพื่อให้คอมพ์ทำตามคำสั่งที่เราพิมพ์ไว้นั่นแหละ ในการพิมพ์งานก็เป็นการขึ้นบรรทัดใหม่ เหมือนกันปัดแคร่ขึ้นบรรทัดของพิมพ์ดีดนั่นแอง โดยกดครั้งหนึ่งก็ขึ้นบรรทัดใหม่ให้หนึ่งบรรทัด เพราะฉะนั้นถ้ากดซ้ำๆ กันหลายครั้งโปรแกรมก็จะขึ้นบรรทัดใหม่ไปเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่กด เอาไว้สำหรับเว้นว่างหน้ากระดาษนั่นแหละครับ  ส่วนการใช้งานทั่วไป โดยเฉพาะในการเล่นเน็ตเวลาจะเสิร์ชหาข้อมูลในกูเกิล พอพิมพ์คำศัพท์เสร็จก็กด
Enter เลย จะทำให้ประหยัดเวลาไม่ต้องมาคลำหาเมาส์ไปเลื่อนหาปุ่มต่างๆ ซะให้ยาก
   เอ้า  มาซะตั้งยาว คงต้องไปต่อภาคสามกันอีกครั้งสำหรับเรื่องปุ่มๆ นี่นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น