วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เกี่ยวกับหน่วยงานที่ดูแล LibeOffice

    มีข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับ LibreOffice ที่ผู้เขียนยังไม่ได้พูดถึงรายละเอียดที่น่าสนใจในบทความตอนแรกๆ นั่นก็คือ หน่วยงานผู้ดูแลควบคุมการพัฒนา LibreOffice
    ลักษณะของซอฟต์แวร์ Opensource นั้น เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ลิขสิทธิ์ตามข้อตกลงของ GPL (General Public License) เป็นหลัก โดยอาจจะมีสิขสิทธิ์ Opensource แบบอื่นๆ มาร่วมด้วย เช่นในกรณีของ LibreOffice ก็จะมีลิขสิทธิ์ต้นแบบเป็นของ Apache Public License ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ที่คุมครอง Apache OpenOffice.org เนื่องจาก LibreOffice ใช้ซอร์สโค้ดของ OpenOffice.org เป็นต้นแบบของโปรแกรม นอกจากนี้ก็จะมีลิขสิทธิ์ของ Mozilla Pulic License อยู่ด้วยเนื่องจากใช้สวนประกอบจากซอฟต์แวร์ที่พัฒนาจาก Mozzilla เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชุดโปรแกรม ซึ่งลิขสิทธิ์เหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นลิขสิทธิ์ในรูปแบบ Opensource ด้วยกันทั้งนั้น ใช้สำหรับคุ้มครองซอร์สโค้ดของระบบไม่ให้ผู้ใดแอบอ้างไปเป็นของตนเองได้ เมื่อมีการพัฒนาในส่วนใดส่วนหนึ่งของโปรแกรมที่ลิขสิทธิ์แบบนั้นๆ คุ้มครองอยู่ ผู้พัฒนาก็ต้องยอมรับว่าส่วนที่พัฒนาต่อยอดขึ้นไป ยังใช้ลิขสิทธิ์ตามแบบเดิม จะไปเหมาว่าเป็นของตนเองไม่ได้ ต้องยอมให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ด้วย
   เรื่องของลิขสิทธิ์ส่วนมาก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาส่วนต่างๆ ของโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น หลากหลายขึ้น ตามแต่จะมีการพัฒนาขึ้นมา แต่สำหรับผู้ใช้ทั่วๆ ไปนั้น แค่รับทราบว่าสามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระไม่มีการหวงห้ามแต่อย่างใด แค่นี้ก็เป็นการเพียงพอแล้ว
   ส่วนหน่วยงานที่ควบคุมดูแล LibreOffice นั้นก็ได้แก่  The Document Foundation ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทั้งทางภาคเอกชนและภาครัฐ ในการมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยผู้สนับสนุนรายใหญ่ๆ ก็อย่างเช่น Google Intel AMD เป็นต้น (สามารถตรวจดูได้จาก http://www.libreoffice.org/about-us/advisory-board-members/)
   ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในเวปไซต์ของ Google เองในส่วนของ Google Doc ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการเอกสารต่างๆ ผ่านทางเวปไซต์นั้น ใช้อัลกอริทึมต่างๆ ที่ได้จากการพัฒนา LibreOffice นั่นเอง
   เราจะเห็นได้ว่า หน่วยงานที่ควบคุมดูแล LibreOffice นี้มีกลุ่มผู้สนับสนุนหลักที่มีความมั่นคง เป็นองค์กรที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงการไอทีของโลก ซึ่งเป็นหลักประกันได้ส่วนหนึ่งว่า LibreOffice นั้นจะมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน รองรับการทำงานในอนาคตได้ สามารถนำมาใช้งานได้โดยไม่ต้องกังวลถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใดๆ ในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น